ปัญหาที่พบบ่อย ในการฟักไข่ Common problems in hatching

ปัญหาที่พบบ่อย ในการฟักไข่   (Common problems in hatching)

ตู้ฟักไข่
incubator egg


1. ฟักไข่ แล้ว ทำไมลูกไก่ ถึงขาถ่าง ขาแบะ
การแก้ปัญหาคือ เกิดจากอุณหภูมิที่ไม่คงที่ ขณะทำการฟักไข่  อีกกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้คือ พื้นปูรองลื่นเกินไป วิธีแก้ปัญหาคือ ให้หาไหมพรม หรือเชือกนิ่ม ๆ มาผูกขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ไม่ขาให้ถ่างออก ทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วจึงแกะเชือกออก ลูกไก่จะมีอาการดีขึ้น(คำแนะนำเพิ่มเติมในคู่มือ ตู้ฟักไข่)

2. ฟักไข่ แล้ว ทำไมลูกไก่จึงตายขณะเจาะเปลือก
การแก้ปัญหาคือ  ปัญหานี้พบได้บ่อยครั้ง เนื่องจากความชื้นที่ไม่เหมาะสม ขณะทำการฟักไข่ถ้าความชื้นมากเกินไป จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวเร็วกว่าปกติ ขนาดตัวจะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม สะดือไม่แห้ง ปิดไม่
สนิทถ้าความชื้นน้อยเกินไป ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง น้ำหนักตัวน้อย บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะ ติดกับเปลือกไข่ อาจทำให้ลูกไก่พิการได้ (คำแนะนำเพิ่มเติมในคู่มือ ตู้ฟักไข่)

3.วิธีการเก็บไข่ก่อนนำเข้าฟัก ทำอย่างไร
วิธีการเก็บไข่ก่อนนำเข้าฟัก การฟักไข่โดยปกติ การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่น ๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้จำนวนหนึ่ง ก่อน จึงนำเข้าตู้ฟักพร้อมกันทีเดียว เพื่อทำให้ลูกไก่เกิดเป็นชุด ๆ พร้อมกัน ในทางปฏิบัติเราจะรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุก ๆ 3-5 วัน โดยการเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 65 องศาฟา เรนต์ไฮ หรือ 18.3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% (คำแนะนำเพิ่มเติมในคู่มือ ตู้ฟักไข่)

4.การอุ่นไข่ ก่อนนำมาฟัก หลังการเก็บไข่ในห้องเย็น ทำอย่างไร
การอุ่นไข่ เป็นขั้นตอนการนำไข่ออกจากห้องเย็น มาไว้ในห้องอุ่นไข่ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิ จนอุณหภูมิที่ผิวฟองไข่ให้ใกล้เคียงอุณหภูมิในห้อง ถ้าอุณหภูมิสูงไม่เพียงพอ จะส่งผลทำให้อุณหภูมิภายในตู้ฟักลดต่ำลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฟัก
การอุ่นไข่จะพบปัญหาหยดน้ำมาจับที่ผิวเปลือกไข่ ซึ่งเกิดจากฟองไข่ที่เย็นกระทบกับความร้อนผสมกับความชื้นในอากาศ เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ และเกาะติดอยู่บริเวณผิวเปลือกไข่ กรณีที่มีเชื้อโรคที่ผิวไข่ หยดน้ำนี้ สามารถนำพาเชื้อโรคเข้าไปในไข่โดยวิธีการออสโมซิส ซึ่งจะทำให้ ประสิทธิภาพการฟักลดลง อาจเกิดปัญหาไข่เน่า หรือลูกไก่อ่อนแอฟักไม่ออก (คำแนะนำเพิ่มเติมในคู่มือ ตู้ฟักไข่)

5.ฟักไข่ แล้ว การกลับไข่ ทำไปเพื่อช่วยอะไร
การกลับไข่ระหว่างการฟักนั้น จะส่งผลให้มีการกระจายของอุณหภูมิและความชื้นบนฟองไข่แต่ละด้านสม่ำเสมอกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนติดเยื่อเปลือกไข่ นอกจากนั้นการกลับไข่ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสมดุลของการไหลของอากาศภายในตู้ และสิ่งที่สำคัญคือถาดพลิกไข่ จะต้องกลับไข่ทำมุม 45 องศากับแนวระนาบเสมอ (คำแนะนำเพิ่มเติมในคู่มือ ตู้ฟักไข่)

6.ฟักไข่ แล้วการจัดไข่ลงถาดพลิก ทำอย่างไร
การจัดไข่ลงถาดเพื่อเข้าตู้ฟัก ให้เรียงไข่ตั้งด้านป้านขึ้นด้านบน ด้านแหลมหันลงข้างล่าง เนื่องจากปกติแล้วช่องอากาศของไข่จะอยู่ทางด้านป้าน และเชื้อลูกไก่จะลอยขึ้นข้างบนเสมอ ถ้าวางไข่โดยเอาด้านแหลมขึ้น ลูกไก่จะได้อากาศไม่เพียงพอ และมีโอกาสตายสูง (คำแนะนำเพิ่มเติมในคู่มือ ตู้ฟักไข่)

7.ลักษณะของการฟักไข่ วันที่ 7 เป็นอย่างไรบ้าง
 - ลักษณะของไข่ที่มีเชื้อ 7 วัน จะเห็นเส้นเลือดสีแดงเป็นร่างแห เหมือนรากไม้ ตรงกลางเป็นจุดและเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เมื่อส่องเสร็จแล้วให้เอาเข้าตู้ฟักทันที
- ลักษณะของไข่เชื้อตาย จะเห็นเป็นเส้นวงแหวน ไม่มีร่างแหแตกแขนง หรือมีจุดสีดำติดเปลือกไข่ ซึ่งในกรณีนี้ ควรนำไข่ใบนั้นออกจากตู้ฟัก เพื่อป้องกันการเน่าเสียของไข่
 -ลักษณะของไข่ไม่มีเชื้อ เมื่อส่องจะเห็นเป็นสีใสไม่มีเส้นเลือด ควรคัดลอกออกทันทีเมื่อพบ

1 ความคิดเห็น: